วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ : สุรางคนา   นามสกุล : พงศ์กระทุง   
ชื่อเล่น : ภีม      อายุ  17 ปี
วันเกิด : 31 ตุลาคม 2541
การศึกษา : กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
กรุ๊ปเลือด : โอ
น้ำหนัก : 50 กิโลกรัม         ส่วนสูง : 161 เซนติเมตร
ความสามารถพิเศษ : เล่นวอลเลย์บอล
งานอดิเรก : ฟังเพลง อ่านนิยาย
สีที่ชอบ : เขียวมิ้นต์
อาหารที่ชอบ : ข้าวมันไก่ ส้มตำ
ดาราที่ชอบ : 1.ดีเจพุฒ พุฒิชัย เกษตรสิน
เพลงที่ชอบ : 1.ทิ้งไว้กลางทาง
                        2. เธอ
ศิลปินที่ชอบ : 1.Bodyslam
                         2.GOT7
ภาพยนตร์ที่ชอบ : The Avengers Ironman Captain America
อาชีพในฝัน : ผู้พิพากษา
คติประจำตัว : สิ่งที่ง่ายคือสิ่งไม่ดี สิ่งที่ดีมันต้องยาก



วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การตัดชำ

การตัดชำ

    การตัดชำ    คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้

1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
 2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 รอย

 3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร
    
   

    

การติดตา

การติดตา

    การติดตา    คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้
  
1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร 
2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร 3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
  4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น

  5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประัมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก  
  
   
    

    

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง

    การทาบกิ่ง   คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
     
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง

 2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
 3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้

6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง

    การตอนกิ่ง  คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
    
  1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง

 2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก
 3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
 4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้

 5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป
   
    
   
    
    

การขยายพันธุ์พืช

การขยายพันธุ์พืช



        การขยายพันธุ์พืช หมายถึง วิธีการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มากขึ้น เพื่อดำรงสายพันธุ์ พืชชนิดต่าง ๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป ได้แก่  

  • การตอนกิ่ง
  • การทาบกิ่ง
  • การติดตา
  • การเสียบยอด
  • การตัดชำ
  • การตอนกิ่ง


10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถาง

10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถาง

1.เลือกกระถางให้เหมาะสม

          ขนาดกระถางและขนาดต้นไม้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เราควรต้องคำนึงถึง เพราะหากต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง ก็จะดูไม่สมดุล ดังนั้นจึงควรเลือกกระถางให้เหมาะสม รวมไปถึงต้องตรงกับความต้องการของเราด้วย เช่น หากว่าต้นไม้เป็นพันธุ์ที่โตเร็ว และต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย ๆ ก็ควรเลือกใช้กระถางใหญ่ที่มีลักษณะกลม ปากกว้าง ซึ่งเป็นกระถางที่ใช้กันทั่วไปและเป็นที่นิยม เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้ลงดิน หรือถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบจัดสวน เคลื่อนย้ายตำแหน่งกระถางต้นไม้บ่อย ๆ ก็ควรเลือกใช้กระถางที่ทำจากโฟม หรือกระถางที่ทำมาจากไฟเบอร์กลาสเพราะมีความเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ส่วนถ้าต้องการกระถางที่มีความหนักแน่น ก็ควรเลือกใช้กระถางเซรามิก หรือกระถางที่ทำมาจากปูนค่ะ

2.ควรใช้ดินผสม

          ดินที่ใช้ในกระถางต้นไม้ควรจะเป็นดินปนทราย ที่มีพีทมอส ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว ถ่านป่น หรืออิฐป่น ผสมอยู่ด้วย เพื่อช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไม่มีความเป็นกรด-ด่างในดินมากเกินไป และเพื่อให้ดินถ่ายเทอากาศ และอุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลมก็ได้ และควรใส่ปุ่ยเพื่อบำรุงให้ต้นไม้เจริญงอกงามอยู่เสมอด้วย

3.ปลูกตามความชอบ

          การจะปลูกพืชในกระถางให้สวยงาม สำคัญที่คุณต้องชอบต้นไม้หรือดอกไม้ชนิดนั้นด้วย หากว่าคุณเป็นคนที่ชอบไม้ดอก ก็เลือกปลูกมะลิ กุหลาบ หอมเจ็ดชั้น เป็นต้น แต่ถ้าชอบพืชที่มีความทนทาน และเป็นไม้มงคลก็เลือกปลูกพลูด่าง เศรษฐีเรือนใน เป็นต้น ส่วนคนที่ชอบไม้ดอกพุ่มกะทัดรัด แนะนำให้ปลูกแอฟริกันไวโอเลต พิทูเนีย หรือเฟิร์นต่าง ๆ ก็ได้ ชอบแบบไหน ก็เลือกปลูกกันได้ตามสบายเลยจ้า

4.เลือกต้นไม้ที่มีสุขภาพดี

          ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และสุขภาพดี ไม่มีโรคพืช หรือแมลงติดมาเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว เผลอ ๆ อาจจะแพร่กระจายโรคพืชไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ดังนั้นก่อนเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกในกระถาง ก็ควรต้องเลือกพืชที่มีใบเขียวสด และลำต้นแข็งแรง ดูพร้อมจะเจริญเติบโตได้อย่างดี เคลื่อนย้ายกระถางไม่ลำบากด้วย

5.ดูแลให้ถูกต้อง

          เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี มีความสวยงามแข็งแรง จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย ๆ เราก็ควรดูแลต้นไม้ในกระถางให้ถูกวิธี ด้วยการเลือกใช้ดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช อย่าลืมปนกรวดลงไปในดินเพื่อให้ช่วยยึดพืช และเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่า นอกจากนี้ควรรดน้ำอย่างพอดีกับต้นไม้ และหมั่นนำไปวางกลางแจ้ง เพื่อเปิดโอกาสให้พืชได้รับแสงอาทิตย์ไว้คอยสังเคราะห์แสงด้วย แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ที่มีความร้อนหรือแดดแรงจนเกินไป ลมโกรกมาก ๆ ก็ไม่เหมาะ เพราะอาจจะทำให้ลำต้นโย้เอียงได้

วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางได้สวยเป๊ะ

 6.จัดเรียงกระถางให้เหมาะสม

          เราสามารถเลือกปลูกดอกไม้ในกระถางได้หลายชนิด แต่ก็ควรจัดวางกระถางให้เหมาะสม โดยจัดวางกระถางในตำแหน่งที่แสงสามารถส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญต้องจัดเรียงลำดับกระถางให้ดี เแนะนำให้เรียงตามลำดับความสูง กระถางที่มีต้นไม้สูง ๆ ก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่จะบังแสงที่จะส่องไปถึงต้นไม้เล็ก ๆ ได้ จะได้ไม้แย่งแสงกัน พาให้ต้นไม้พันธุ์ที่เตี้ยกว่า เสียโอกาสรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่

7.รดน้ำอย่างถูกวิธี

          หากสังเกตเห็นว่าหน้าดินเริ่มแห้ง ก็แสดงว่าต้นไม้เริ่มขาดน้ำ แต่การจะรดน้ำต้นไม้ในกระถางให้ต้นไม้ได้น้ำอย่างเต็มที่ อันดับแรกต้องดูที่ชนิดต้นไม้ก่อน ว่าเป็นพืชที่ชอบน้ำมากน้อยแค่ไหน ถ้าชอบน้ำน้อย ให้รดน้ำด้วยวิธีใช้ขวดสเปรย์ฉีดพรมจนชุ่มก็ได้ แต่ถ้าเป็นต้นไม้ชนิดที่ชอบน้ำมาก ให้ค่อย ๆ ใช้น้ำอุ่นรดลงไปที่หน้าดิน เพราะน้ำอุ่นจะซึมลงสู่ดินได้ง่ายกว่าน้ำอุณหภูมิปกติ ระหว่างที่รดน้ำก็ค่อย ๆ ใช้ดินสอหรือตะเกียบจิ้มดินให้เป็นรู เพื่อช่วยให้น้ำซึมลงสู่รากได้อย่างทั่วถึง

8.ให้ปุ๋ยและสารอาหารสม่ำเสมอ

          ต้นไม้อาจจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ถ้าเราไม่ให้ปุ๋ยเป็นอาหารเสริมเลย ดังนั้นนอกจากการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างการรดน้ำพรวนดินแล้ว เราก็ควรต้องใส่ปุ๋ยและกำจัดแมลง รวมถึงศัตรูพืชด้วย จะเลือกใช้น้ำหมักธรรมชาติ หรือปุ๋ยตามชนิดที่พืชต้องการก็ได้ หมั่นดูแลเขาอย่างสม่ำเสมอ เขาจะได้เติบโตสวยงามให้เราชื่นชมไปนาน ๆ นะคะ

9.ตัดแต่งสักนิด

          ต้นไม้ที่มีใบแห้ง เริ่มเหลือง หรือกิ่งเริ่มไม่สวยงาม เราก็ควรตัดแต่งกิ่ง ริดใบเหลือง ๆ และคอยตรวจตราดูเพลี้ยและศัตรูพืชอยู่เสมอ เพราะการริดใบที่เริ่มเน่า ใบที่เป็นโรค และการตัดแต่งกิ่งส่วนเกิน จะช่วยรักษาระดับน้ำและสารอาหารให้พืช ไม่ต้องส่งไปยังกิ่งหรือใบเหล่านี้อีก แต่การตัดแต่งกิ่งหรือริดใบทุกครั้งควรใช้อุปกรณ์ตัดแต่งกิ่งด้วยนะคะ เพราะหากริดใบด้วยมือ อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงราก ทำให้รากของต้นไม้เสียหายได้

10.ถึงเวลาเปลี่ยนถ่าย
          
          เมื่อพืชเริ่มหยุดการเจริญเติบโต และไม่ค่อยรับน้ำแล้ว ก็ให้ตรวจสอบดูที่รากของต้นไม้ได้เลย เพราะนี่คือสัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนกระถางเพราะต้นไม้โตเกินกว่าที่จะอยู่ในกระถางเดิมแล้ว เอาล่ะ! ได้เวลาย้ายที่อยู่ไปยังกระถางที่ใหญ่กว่า หรือบางต้นที่มีรากเยอะมาก ก็อาจจะแยกปลูกเป็น 2-3 กระถางได้เลยจ้า

การปลูกและการดูแลรักษาของกุหลาบหิน

การปลูกและการดูแลรักษาของกุหลาบหิน

  1.  ดินทีใช้ปลูกควรมีการระบายน้ำดี อย่างไรก็ตามกุหลาบหินไม่ต้องพิถีพิถันเรื่องดินปลูกมากนัก
  2.  ควรวางไว้นอกชายคาใต้ร่มเงาต้นไม่ใหญ่เพื่อที่จะรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน โดยที่ผู้ปลูกไม่จำเป็นต้องรดน้ำเลย นอกจากฝนจะทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ๆ เท่านั้น
  3.  ถ้าจะปลูกควรปลูกประมาณเดือนกันยายน   
  4.  ถ้าต้องการให้กุหลาบหินดอกบานนอกฤดูก็อาจทำได้ คือ หลังจากต้นสมบูรณ์เต็มที่แล้วเริ่มกางมุ้ง โดยใช้ผ้าซาติน สีดำคลุมในลักษณะกางมุ้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 1 เดือน ดอกจะบานหลังจากวันเริ่มกางมุ้งประมาณ 100 วัน


การขยายพันธุ์ของกุหลาบหิน

การขยายพันธุ์ของกุหลาบหิน

1.        การเพาะเมล็ด เมล็ดกุหลาบหินมีขนาดเล็กมาก เมล็ด 1 ออนซ์ มีถึง 1,000,000 - 2,500,000 เมล็ด ดังนั้นการเพาะเมล็ดจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและพิถีพิพันเป็นอย่างยิ่ง การเพาะควรใช้วิธีหว่านลงบนวัสดุที่ใช้เพาะโดยไม่ต้องกลบ เมล็ดจะแทรกเข้าไปในช่องว่างได้เอง โดยที่กุหลาบหินจะงอกภายใน 5-7 วัน
2.        การปักชำใบ วิธีนี้ทำได้ง่ายมากแต่จะใช้เวลานานกว่าวิธีเพาะเมล็ด คือ หลังจากปักชำแล้วจะออกรากทีโคนก้านใบภายใน 2 สัปดาห์ และจะออกต้นใหม่ภายใน 2 เดือน

พันธุ์ที่ใช้ปลูกของกุหลาบหิน


 ดอกสีแดง ได้แก่ Ramona, Tetra Vulcan


ดอกสีชมพู ได้แก่ Adagio, Largo


 ดอกสีเหลือง ได้แก่ Yellow tom thum, Morning sun


 ดอกสีส้ม ได้แก่ Exotica, Nugget, Pixie, Rhumba

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกุหลาบหิน


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกุหลาบหิน


·       กุหลาบหินที่ใช้ปลูกทุกวันนี้มีพุ่มต้นสวยกระทัดรัด สูงไม่เกิน 1 ฟุต ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ขอบใบหยักโค้งเล็กน้อยและอวบน้ำ แต่เดิมมีช่อดอกสีเดียว คือ สีแดงสดสะดุดตา แต่สภาพต้นหลังจากบานดอกในชุดแรกแล้วจะไม่สวยเหมือนเดิมอีกทั้งบานดอกปีละครั้งเดียว

·       กุหลาบหินจะเริ่มออกดอกในเดือนมกราคม โดยดอกจะบานพร้อมกันหมดทั้งต้นทีละหลาย ๆ ช่อ บานติดต่อกันไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ต้นมีนาคม เมื่อดอกเหี่ยวเฉา และสิ้นสภาพแล้วควรจะตัดช่อดอกทิ้งไป และริดใบออกจะต้นทีละใบให้ก้านใบติดอยู่ประมาณ 0.5-1 นิ้ว แล้วสามารถนำไปปลูกใหม่ได้

         

     ใบ
                   
        

ต้น


ดอก





ข้อมูลทั่วไปและประวัติของกุหลาบหิน

กุหลาบหิน

·       ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Kalanchoe blossfeldiana
·       วงศ์ : Crassulaceae
·       ชื่อสามัญ : kalanchoe
·       ชื่ออื่น ๆ : กุหลาบหิน

 ข้อมูลทั่วไปและประวัติ


·       กุหลาบหินนี้มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีถิ่นกำเนิดในแอฟฟริกาและเอเชีย เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถางสำหรับประดับในอาคารบ้านเรือน เป็นไม้ดอกทีปลูกง่าย เลี้ยงง่าย ดอกออกเป็นช่อสีสวย