เราสามารถจำแนกสิ่งเสพย์ติดชนิดต่างๆ ที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.จำแนกตามคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
1.1 สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมองและทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายบางส่วนหยุดทำงานหมดความ เป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เซคแคนนอลหรือ
เซคโคบาร์บิทาน พวกยานอนหลับ และยากล่อมประสาทต่างๆ รวมทั้งเหล้าก็จัดอยู่ในสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ด้วย
1.1 สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาท ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมองและทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายบางส่วนหยุดทำงานหมดความ เป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เซคแคนนอลหรือ
เซคโคบาร์บิทาน พวกยานอนหลับ และยากล่อมประสาทต่างๆ รวมทั้งเหล้าก็จัดอยู่ในสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ด้วย
1.2 สิ่งเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามฤทธิ์ของยา ซึ่งอาจจะเกินขีดความสามารถของร่างกาย ดังนั้นเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วจะทำให้ส่วนต่างๆ เหล่านั้นทรุดโทรมเสื่อมสมรรถภาพได้ ซึ่งถ้ายาประเภทนี้อยู่นานๆ อาจจะกลายเป็นคนวิกลจริตประสาทหลอน หรือหัวใจวายถึงตายได้ สิ่งเสพย์ติดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ สิ่งเสพย์ติดประเภทแอมแฟตามีน หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ยาม้า ยาบ้า ยาขยัน นอกจากนี้ก็เป็นจำพวกยาลดความอ้วน ยากระตุ้นประสาทที่ผสมในเครื่องดื่มต่างๆ พวกคาเฟอีนในกาแฟ และพวกโคเคอีนในพวกโคคา
1.3 สิ่งเสพย์ติดประเภทหลอนประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ผู้เสพมีอาการฝันเฟื่อง จิตหลอน เห็นแต่ภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนเมาอยู่ในความฝันทั้งร้ายและดี ประสาทรับความรู้สึกต่างๆจะแปรปรวนไปหมด บางครั้งผู้เสพอาจจะทำอันตรายแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ สิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ได้แก่ แอลเอสดี เมสคาลิน ไซไลซิบิน เอสทีพี เป็นต้น
1.4 สิ่งเสพย์ติดประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ สิ่งเสพย์ติดที่ใช้แล้วจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ซึ่งทำให้มีอาการหลงผิด เกิดความเสื่อมโทรมทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต ใช้ไปนานๆ จะทำลายประสาท เกิดประสาทหลอน และมีอาการของโรคจิต
2. จำแนกตามลักษณะการเกิด
2.1 สิ่งเสพย์ติดตามธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ได้จากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ กัญชา และใบกระท่อม เป็นต้น
2.1 สิ่งเสพย์ติดตามธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ได้จากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ กัญชา และใบกระท่อม เป็นต้น
2.2 สิ่งเสพย์ติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ สิ่งเสพย์ติดที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีทางเคมี ได้แก่ โคเคอีน เฮโรอีน มอร์ฟีน พีธคีน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น